เว็บบอร์ด

คำถาม

รบกวนขอข้อมูล เกี่ยวกับกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีแอมโมเนีย แอนไฮดรัสค่ะ
1. มีกฎหมายอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง
2. บริษัท ต้องทำอะไรบ้าง
โดย : aimconsultant คำถามเมื่อ : 9/7/2553 15:00:12

คำตอบ

2. บริษัท ต้องทำอะไรบ้าง

แอมโมเนีย เป็นวัตถุอันตรายที่อยู่ในการควบคุมของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามประกาศกระทรวงอุตสหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๘ – ปัจจุบัน วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 แนวทางปฏิบัติในการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย เนื้อหาประกอบไปด้วย
1. สถานที่เก็บรักษา ข้อกำหนดเกี่ยวกับผนังอาคารและกำแพงกันไฟ พื้น ประตูและทางออกฉุกเฉิน หลังคา ระบบระบายอากาศ ระบบไฟฟ้า แสงสว่างฉุกเฉิน และอุปกรณ์ไฟฟ้า การป้องกันฟ้าผ่า ระบบเตือนภัย การระงับอัคคีภัย ระบบกักเก็บน้ำที่ผ่านการดับเพลิง
2. การจำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับการเก็บรักษา เช่น การจำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตราย วิธีการจำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตราย และวิธีการจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย
3. มาตรการการป้องกัน เช่น การจัดการด้านสุขศาสตร์ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เครื่องหมายความปลอดภัย เส้นทางการจราจร และบริเวณรับส่งสินค้า การเคลื่อนย้ายสารเคมีและวัตถุอันตราย มาตรการการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตรายในอาคาร การจัดการเมื่อเกิดการหกรั่วไหลและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน การกำจัดของเสีย โปรแกรมการบำรุงรักษาอุปกรณ์ความปลอดภัย คำแนะนำวิธีปฏิบัติงาน การฝึกอบรม และมาตรการการป้องกันอื่นๆ
4. ข้อกำหนดพิเศษ สำหรับวัตถุระเบิด ก๊าซ สารไวไฟ และสารออกซิไดส์
5. การจัดเก็บรักษานอกอาคาร - ติดฉลากแสดงสัญลักษณ์อันตราย,ชื่อ, ปริมาณและส่วนประกอบ, อันตรายและการเกิดพิษ, คำเตือนเกี่ยวกับวิธีการเก็บ ใช้ เคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายและวิธีปฐมพยาบาล

- แจ้งสารเคมีอันตรายที่อยู่ในครอบครอง รายงานตามแบบ สอ.1 ภายใน 7 วัน
- ประเมินการก่ออันตรายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รายงานตามแบบ สอ.2
- จัดสถานที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายให้ถูกสุขลักษณะมีการระบายอากาศติดประกาศ ห้ามพักห้ามสูบบุหรี่ รับประทานอาหารในพื้นที่ทำงาน - จัดให้มีที่ล้างตา ชำระล้างสารเคมีอันตราย
- ตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในพื้นที่ทำงาน และในพื้นที่เก็บอย่างน้อย 6 เดือน / ครั้ง รายงานตามแบบ สอ.3
- เมื่อสารเคมีรั่วไหล หรือ ฟุ้งกระจาย, เกิดอัคคีภัยหรือระเบิด ให้ลูกจ้างหยุดงานทันที
- ตรวจสุขภาพลูกจ้าง และรายงานตามแบบ สอ.4 เก็บผลตรวจสุขภาพไว้อย่างน้อย 2 ปี
- การขนส่ง : ป้องกันฝุ่น ฟูมไอละอองเส้นใยและการกระเด็นของสารเคมีอันตราย ตรวจสอบยานพาหนะให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัยฝึกซ้อมเหตุฉุกเฉินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมจัดทำคู่มือเก็บไว้ในยานพาหนะ มีเครื่องดับเพลิงเหมาะสม ไม่บรรจุสารที่อาจทำปฏิกิริยาต่อกันไว้รวมกัน
- สถานที่เก็บสารเคมีอันตรายห่างจากลูกค้า ≥ 8 m ทำเขื่อน กำแพงทำนบ ผนัง ป้องกันไม่ให้สารเคมีรั่วไหลออกมา รางแยกจากระบบระบายน้ำมีทางเข้าออกไม่น้อยกว่า 2 ทาง เก็บแยกสารที่อาจเกิดปฎิกิริยาต่อกัน สารเคมีอันตรายไม่เก็บไว้ชั้นใต้ดิน
- หีบห่อ ภาชนะบรรจุหรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายที่ไม่ต้องการใช้หรือจะจำกัดต้องเก็บรวบรวมไว้ในภาชนะที่ปลอดภัยนอกบริเวณทำงานทุกวัน กำจัดโดยวิธีที่ปลอดภัย, ห้ามใช้บรรจุสิ่งอื่น และปฏิบัติตามคำแนะนำใน MSDS ค่ะ - ดำเนินการแจ้งตามแบบฟอร์ม วอ/อก 7 สารเคมีอันตราย ตามกฎหมาย พ.ร.บ วัตถุอันตราย 2535 และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมในหมวดวัตถุอันตราย
- ตรวจสอบภาชนะรับแรงดันโดยวิศวกรปีละ 1 ครั้ง
ผู้ตอบ : aimconsultant ตอบเมื่อ : 9/7/2553 15:08:09

คำตอบ

1. มีกฎหมายอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง

- ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ลำดับที่ 249 แอมโมเนียม แอนไฮดรัส
- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดแบบแจ้งรายละเอียดแบบรายงานความปลอดภัยและประเมินการก่ออันตรายและแบบรายงานผลการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย
- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขนส่ง เก็บรักษา เคลื่อนย้าย และกำจัดหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย
- ระเบียบกรมโรงงานว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าปรับตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 สำหรับความผิดเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบ พ.ศ. 2549
- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมี และวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2551
- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตรายมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2551 (ตรวจสอบ สปก.ว่ามีลักษณะเป็นไปตามที่ กม.กำหนด และต้องจัดให้มีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบฯ หรือไม่)
ผู้ตอบ : aimconsultant ตอบเมื่อ : 9/7/2553 15:03:29